วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ฝึกท่องไว้น่ะ ประวัติภาษาไทย







ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

      คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของ ตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

แบบทดสอบ













1. การฟังและการดูที่ดีมีลักษณะอย่างไร
     ก.  ต้องรู้จักจุดมุ่งหมายของการฟังและดู
     ข.  ต้องฟังและดูอย่างไม่มีอคติ                            
     ค.  ต้องให้ความร่วมมือในการฟังและดู
     ง.  ถูกทุกข้อ

2. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการฟังและดูที่ดี
     ก.  รักษาความสงบ
     ข.  มองสบตาผู้พูด
     ค.  แสดงกริยาที่เหมาะสม
     ง.  ขีดเขียนภาพที่ดู

3. การฟังและดูมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
     ก.  เพื่อศึกษาหาความรู้
     ข.  เพื่อความเพลิดเพลิน
     ค.  เพื่อความซาบซึ้ง
     ง.  ถูกทุกข้อ
 
4. การจะฟังให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรทำอย่างไร
     ก. เตรียมตัวให้พร้อม 
     ข. นั่งแถวหลังสุด
     ค. ไปหลังเวลานิดหน่อย
     ง. เตรียมของกินให้พร้อม

5. ข้อใดไม่ใช่หลักการฟังเพื่อจับใจความสำคัญ
     ก.  สนใจฟังอย่างตั้งใจ
     ข.  จงอดทนอย่าขัดจังหวะ
     ค.  เปิดโอกาสให้เขาได้พูด
     ง.  พูดคุยระหว่างการฟัง


6. การกล่าวคำอวยพร ควรใช้คำพูดอย่างไรจึงจะเหมาะสม
     ก.  พูดเสียงชัดเจน
     ข. พูดสั้นกะทัดรัด ได้ใจความ
     ค. นำคำพูดของบุคคลอื่นมาอ้าง
     ง.  พูดตลกคะนองให้คนอื่นสนใจ


7. พูดดีเป็นศรีแก่ปาก  หมายความว่าอย่างไร
      ก. พูดมากได้ประโยชน์มาก
      ข.  พูดดี มีประโยชน์
      ค.  พูดถูกต้องคนต้องฟัง
      ง.  พูดเก่งได้เป็นผู้แทนราษฎร

8.  ข้อใดแสดงถึงมารยาทในการฟังที่ดี
      ก.  หน่อยและนิดคุยตลอดเวลาที่ดูภาพยนต์
        ข.  อ้อมฟังและจดบันทึกขณะที่เข้าร่วมประชุม
      ค.  แอมนั่งวาดรูปเล่นขณะที่ครูอธิบาย
      ง.  นา อ่านหนังสือพิมพ์ขณะนั่งฟังสัมมนา

9.  ผู้อ่านได้รับอะไรจากการอ่าน
      ก. ความรู้
      ข.  ความคิด
      ค.  ความเพลิดเพลิน
      ง.  ถูกทุกข้อ
 
10. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของการอ่าน 
     ก.  อ่านเพื่อจับใจความได้ถูกต้องและรวดเร็ว
     ข.  อ่านเพื่อตำหนิข้อเขียนนั้นๆ
     ค.  อ่านเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ
     ง.  อ่านเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่อ่านให้ผู้อื่นรับรู้

  

ข้อที่
เฉลย
1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.