เนื้อหาบทเรียน


หนังสือเรียนสาระทักษะการดำเนินชีวิต
รายวิชา เศรษฐกิจพอเพียง
(ทช21001)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ
หนังสือ เรียนเล่มนี้จัดพิมพ์ด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับ ประชาชน ลิขสิทธิ์เป็นของ สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ห้ามจำหน่าย
เอกสารทางวิชาการลำดับที่ 20/2554
2
หนังสือเรียนสาระทักษะการดำเนินชีวิต
รายวิชา เศรษฐกิจพอเพียง (ทช21001)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ลิขสิทธิ์เป็นของ สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เอกสารทางวิชาการลำดับที่ 20/2554
3
คำนำ
สำนัก งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้ดำเนินการจัดทำหนังสือเรียน ชุดใหม่นี้ขึ้น เพื่อสำหรับใช้ในการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญาและศักยภาพในการประกอบอาชีพ การศึกษาต่อ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัว ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุข โดยผู้เรียนสามารถนำหนังสือเรียนไปใช้ ด้วยวิธีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปฏิบัติกิจกรรมรวมทั้งแบบฝึกหัดเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจในสาระเนื้อหา โดยเมื่อศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจ สามารถกลับไปศึกษาใหม่ได้ ผู้เรียนอาจจะสามารถเพิ่มพูนความรู้หลังจากศึกษาหนังสือเรียนนี้ โดยนำความรู้ไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในชั้นเรียน ศึกษาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น จากแหล่งเรียนรู้และจากสื่ออื่นๆ
ในการดำเนินการจัดทำหนังสือเรียนตาม หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องหลายท่านที่ค้นคว้า และเรียบเรียงเนื้อหาสาระจากสื่อต่างๆ เพื่อให้ได้สื่อที่สอดคล้องกับหลักสูตร และเป็นประโยชน์ ต่อผู้เรียนที่อยู่นอกระบบอย่างแท้จริง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอขอบคุณคณะที่ปรึกษา คณะผู้เรียบเรียง ตลอดจนคณะผู้จัดทำทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือด้วยดี ไว้ ณ โอกาสนี้
สำนัก งานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย หวังว่าหนังสือเรียนชุดนี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนตามสมควร หากมีข้อเสนอแนะประการใด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ขอน้อมรับไว้ด้วยความขอบคุณยิ่ง
สำนักงาน กศน.
4
สารบัญ
หน้า
คำนำ
คำแนะนำการใช้หนังสือเรียน 5
โครงสร้างรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 6
บทที่ 1 ความพอเพียง 7
เรื่องที่ 1 ความพอเพียงตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 8
บทที่ 2 การประกอบอาชีพอย่างพอเพียง 13
เรื่องที่ 1 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในประเทศไทย 14
เรื่องที่ 2 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในต่างประเทศ 14
เรื่องที่ 3 การนำวิธีของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน 15
บทที่ 3 การวางแผนประกอบอาชีพแบบพอเพียง 19
เรื่องที่ 1 กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 20
เรื่องที่ 2 การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 22
เรื่องที่ 3 ทฤษฎีใหม่ 23
บทที่ 4 เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง 29
เรื่องที่ 1 เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง 30
5
คำแนะนำการใช้หนังสือเรียน
หนังสือ เรียนสาระทักษะการดำเนินชีวิต รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ทช21001 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นแบบเรียนที่จัดทำขึ้น สำหรับผู้เรียนที่เป็นนักศึกษานอกระบบ
ในการศึกษาหนังสือเรียนสาระทักษะการดำเนินชีวิต รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เรียนควรปฏิบัติดังนี้
1. ศึกษาโครงสร้างรายวิชาให้เข้าใจในหัวข้อและสาระสำคัญ มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และขอบข่ายเนื้อหาของรายวิชานั้น ๆ โดยละเอียด
2. ศึกษารายละเอียดเนื้อหาของแต่ละบทอย่างละเอียด และทำกิจกรรมตามที่กำหนด แล้วตรวจสอบกับแนวตอบกิจกรรมตามที่กำหนด ถ้าผู้เรียนตอบผิดควรกลับไปศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหานั้นใหม่ให้เข้าใจ ก่อนที่จะศึกษาเรื่องต่อ ๆ ไป
3. ปฏิบัติกิจกรรมท้ายเรื่องของแต่ละเรื่อง เพื่อเป็นการสรุปความรู้ ความเข้าใจของเนื้อหาในเรื่องนั้นๆ อีกครั้ง และปฏิบัติกิจกรรมของแต่ละเนื้อหา แต่ละเรื่อง ผู้เรียนสามารถนำไปตรวจสอบกับครูและเพื่อนๆ ที่ร่วมเรียนในรายวิชาและระดับเดียวกันได้
4. หนังสือเรียนเล่มนี้มี 4 บท คือ
บทที่ 1 ความพอเพียง
บทที่ 2 การประกอบอาชีพอย่างพอเพียง
บทที่ 3 การวางแผนประกอบอาชีพแบบพอเพียง
บทที่ 4 เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
6
โครงสร้าง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ทช21001)
สาระสำคัญ
เศรษฐกิจ พอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ให้ดำเนินชีวิตไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อ โลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อม ต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. อธิบายแนวคิด หลักการ ความหมาย ความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้
2. บอกแนวทางในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
3. เห็นคุณค่าและปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
4. แนะนำ ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวเห็นคุณค่าและนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
ขอบข่ายเนื้อหา
บทที่ 1 ความพอเพียง
ศึกษาแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 2 การประกอบอาชีพอย่างพอเพียง
เรื่องที่ 1 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในประเทศไทย
เรื่องที่ 2 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในต่างประเทศ
เรื่องที่ 3 การนำวิธีของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
บทที่ 3 การวางแผนประกอบอาชีพแบบพอเพียง
เรื่องที่ 1 กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องที่ 2 การปฏิบัติตนตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องที่ 3 ทฤษฎีใหม่
บทที่ 4 เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
ศึกษาแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่ใกล้และที่ประสบความสำเร็จ
7
บทที่ 1
ความพอเพียง
สาระสำคัญ
ผู้ เรียนสามารถเรียนรู้ ถึงความเป็นมา แนวคิด และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินชีวิตไปในทาง สายกลาง
ผลการเรียนที่คาดหวัง
1. ผู้เรียนเรียนรู้ความเป็นมา แนวคิดและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 ความพอเพียง ตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
8
เรื่องที่ 1 ความพอเพียงตามแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความ เป็นมาของ “เศรษฐกิจพอเพียง” เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง ต่าง ๆ ในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ “กษัตริย์นักพัฒนา” ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ และการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนาโดยปัญญาชน ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุดมการณ์วัฒนธรรมชุมชน ที่ถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 ก็ได้ช่วยให้อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียงขยายครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของสังคมได้มากขึ้นโดยลำดับ จนในปัจจุบันได้มีตัวอย่างและงานวิจัยรองรับว่าการดำเนินชีวิตตามแนวคิดของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถช่วยให้สังคมไทยอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
สำนัก งานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทาง เศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 – 2549) และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติว่าเป็น ปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน มีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ หลายคนเห็นด้วย และเชิดชู แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีของสหประชาชาติ จนทำให้ในที่สุด ได้ถูกนำมาบรรจุเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
9
แนวคิด และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทาง สายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฎีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่างสังคมระดับท้องถิ่นและ ตลาดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือแนวทางที่สมดุล โดยใช้หลักธรรมชาติที่เป็นเหตุเป็นผลอย่างเชื่อมโยง พัฒนาให้ทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์
หลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 เมื่อปีที่ประเทศไทยต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเพื่อที่ จะยืนหยัดในการพึ่งตนเองและพัฒนานโยบาย ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยการสร้างแนวคิดเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งคนไทยจะสามารถเลี้ยงชีพโดยอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียงและการนำแนวคิด ดังกล่าวมาใช้ก็ได้ผ่านการทดลองในพระตำหนักสวนจิตรลดารโหฐานและโครงการใน ภูมิภาคต่าง ๆ หลายโครงการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริ ว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIC) พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้ และการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครง สร้างทางสังคมของชุมชนให้ดีขึ้น โดยมีปัจจัย 2 อย่าง คือ
1. การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่างปริมาณผลผลิตและการบริโภค
2. ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเองอย่างครบวงจร
ผลที่เกิดขึ้น คือ
1. เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน
2. ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
3. รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก
ปัจจุบัน แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มีการนำไปใช้เป็นนโยบายของรัฐบาล และปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 78 (1)ว่า “การบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ”
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
“...การ พัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้อง ด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...”
10
พระบรม ราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
“...คน อื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขาจะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งใหม่แต่ เราอยู่อย่างพอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำ พอควร พออยู่ พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้ไปจากเราได้...”
พระราชกระแสรับสั่งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
“การ ที่จะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”
พระราชดำรัส “เศรษฐกิจพอเพียง” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
จาก พระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลางที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของ ประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ “พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน” บนเงื่อนไข “ความรู้และคุณธรรม”
แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
เงื่อนไข ความรู้
(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)
เงื่อนไข คุณธรรม
(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)
11
แผนภาพ
3 ห่วง ประกอบด้วย
ความ พอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงไม่เบียดเบียนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
มี ภูมิคุ้มกัน ที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
2 เงื่อนไข ประกอบด้วย
เงื่อนไข ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ และไม่ตระหนี่
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น “ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง” ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสตอนหนึ่งได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียงว่า “คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น”
ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินที่ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยหลีกเลี่ยงการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน (ปัจจัยเสริมในที่นี้เช่น ท่องเที่ยว ความบันเทิง เป็นต้น) สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฎจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
12
13 นักคิดระดับโลกเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนำเสนอบทความ บทสัมภาษณ์เป็นการยื่นข้อเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่โลก เช่น ศ.ดร.วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของประเทศเยอรมนี สนใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี, ศ.ดร.อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1998 มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการใช้สิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และใช้โอกาสให้พอเพียงกับชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการ แต่ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้ดีพอ อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของรายได้และความร่ำรวยแต่ให้มองที่คุณค่าของ ชีวิตมนุษย์, นายจิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฎานให้ทรรศนะว่า หากประเทศไทยกำหนดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวาระระดับชาติ และดำเนินตามแนวทางนี้อย่างจริงจัง “ผมว่าประเทศไทยสามารถสร้างโลกใบใหม่จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสร้าง ชีวิตที่ยั่งยืน และสุดท้ายจะไม่หยุดเพียงแค่ในประเทศ แต่จะเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทำได้สำเร็จไทยก็คือผู้นำ”
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด นาย Hakan Bjorkman รักษาการผู้อำนวยการ UNDP ในประเทศไทยกล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ UNDP นั้นตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนา ประเทศแบบยั่งยืน
กิจกรรมที่ 1
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3 – 5 คน จัดทำแผนที่ความคิด (Mine Mapping) สรุปความเข้าใจ เรื่อง ความพอเพียงตามหลักแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- นำเสนอในการพบกลุ่ม และเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
13
บทที่ 2
การประกอบอาชีพอย่างพอเพียง
สาระสำคัญ
ผู้ เรียนศึกษาการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ใช้ในประเทศไทย และนอกประเทศ ตลอดจนเป็นการศึกษาการนำวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชีวิต ประจำวัน ในเรื่องของการประกอบอาชีพอย่างพอเพียง
ผลการเรียนที่คาดหวัง
1. ผู้เรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดทรัพยากรที่มีอยู่ของตนเอง ครอบครัว ชุมชน
2. ผู้เรียนสามารถกำหนดแนวทาง และปฏิบัติตนในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในประเทศไทย
เรื่องที่ 2 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในต่างประเทศ
เรื่องที่ 3 การนำวิธีของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
14
เรื่องที่ 1 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในประเทศไทย
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ มหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า “สังคมสีเขียว” ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท
แนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึง ผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ
ปัญหาหนึ่งของการนำปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่กล้าวิเคราะห์หรือตั้งคำถามต่อตัวปรัชญา เนื่องจากเป็นปรัชญาของพระมหากษัตริย์ นายสมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า “วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง” โดยนายสมเกียรติมีความเห็นว่า ผู้นำไปใช้อาจไม่รู้ว่าปรัชญานี้แท้จริงคืออะไร ซึ่งอาจเพราะสับสนว่า เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกันทำให้เข้าใจผิดว่า เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าว เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ Burkina Faso ว่า ประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการพัฒนาแบบยั่งยืนในการ พัฒนาประเทศทั้งทางเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องกับเป้าหมายของแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของไทยเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.7
เรื่องที่ 2 การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในต่างประเทศ
การ ประยุกต์นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาประเทศในต่างประเทศนั้น ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) โดย สพร. มีหน้าที่ คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สพร. ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ (กปร.) และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
15
ซึ่ง ต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะพิสูจน์ว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ ฯลฯ เช่น พม่า ศรีลังกา เลโซโท ซูดาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฎาน จีน จิบูตี โคลัมเบีย อียิปต์ เอธิโอเปีย แกมเบีย อินโดนีเซีย เคนยา เกาหลีใต้ มาดากัสการ์ มัลดีฟส์ ปาปัวนิวกินี แทนซาเนีย เวียดนาม ฯลฯ โดยได้ให้ประเทศเหล่านี้ได้มาดูงาน ในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ
นอกจากนั้น อดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของ พระองค์ และอยากรู้ว่าทำไมรัฐบาลไทยถึงได้นำมาเป็นนโยบาย ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาพิจารณาเพื่อนำไปในช่วยเหลือประเทศ อื่น
เรื่องที่ 3 การนำวิธีของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
ปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ปรัชญาที่ใช้ได้เฉพาะครอบครัวหรือชุมชนเท่านั้น แต่เป็นปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับสังคมโดยรวม การจะดำรงชีวิตอยู่ได้ตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สมาชิกจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ สภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ ควบคู่ไปกับการพยายามหาหนทางหรือวิธีการ ที่จะดำรงชีวิตตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อผลกระทบที่ชุมชนอาจจะได้รับจากกระแสโลกาภิวัตน์ไม่ให้กระแสเหล่านั้นเข้า มาทำลายเอกลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนจนชุมชนต้อง ล่มสลายไป
ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแนวทางข้างต้น จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระแสโลกาภิวัตน์กับเศรษฐกิจพอเพียงก่อน โดยการทบทวนหรือมองย้อนกลับไปถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี 2540 อันเป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
กระ แสโลกาภิวัตน์ คือ กระบวนการเชื่อมและใช้โลกร่วมกัน อย่างใบเดียวกัน อย่างถึงกันและมีระบบแบบแผน ที่สำคัญ โลกาภิวัตน์ ด้านหนึ่งคือความเป็นโลกน้ำหนึ่งในการรับรู้เรื่องราวกันและกัน แต่อีกด้านหนึ่งก็คือกระบวนการถูกทำให้รับรู้ ถูกทำให้เคลื่อนและคล้อยตาม โดยเฉพาะในเป้าหมายด้านเศรษฐกิจซึ่งค่อนข้างเร็ว แรงและต่อเนื่อง ผ่านระบบการสื่อสารต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยี ทำให้ปัจจุบันนี้ไม่มีพื้นที่ใดในโลกที่รอดพ้นจากอิทธิพลนี้ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม
การนำวิธีของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
การ นำวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในระดับบุคคลทั่วไป คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ โดยสามารถเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของการประหยัด คุ้มค่า เอื้อเฟื้อ และเป็นเกราะป้องกันความเสื่อมอย่างมีคุณค่า นำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกอาชีพทั้งธุรกิจทุนขนาดย่อมและขนาดใหญ่ อย่างเช่นที่ โรงแรมชุมพรคาบาน่ารีสอร์ท ซึ่งเป็นโรงแรม
16
ขนาด กลางเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของจังหวัดชุมพรที่หลายคนรู้จัก เมื่อได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 ทำให้ประสบปัญหาอย่างมาก แขกเข้าพักน้อย จะต้องเตรียมปลดคนงานออก และอาจต้องปิดตัวลง แต่ด้วยที่ผู้บริหารได้เรียนรู้ถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากอาจารย์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร จากมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี นำไปปฏิบัติจนสามารถฝ่าฟันวิกฤติและดำเนินธุรกิจ มาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยไม่มีการปลดพนักงานออกและยังเป็นสถานที่เผยแพร่ หลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัดชุมพรที่สำคัญในปัจจุบันนี้
ตัวอย่าง
ทรง พลนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในครอบครัวของตนเองเก็บออมเงินส่วนที่ เหลือจากการบริโภคไว้ใช้จ่ายในอนาคต เช่น ค่ารักษาพยาบาล นำน้ำที่ผ่านการใช้แล้วในครัวเรือนมารดพืชผักสวนครัว ปลูกผักสวนครัวลดค่าใช้จ่ายนำเงินจากการขายพืชผักสวนครัวและหมู ไปซื้อสินค้าและบริการที่สมาชิกในครัวเรือนต้องการและมีความจำเป็นในการ อุปโภคบริโภคนำพืชผักสวนครัวที่เพาะปลูกได้มาบริโภค บางส่วนนำไปขายที่ตลาด ส่วนที่เหลือนำไปเลี้ยงหมูนำเงินส่วนหนึ่งมาใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อ เจ็บป่วยและนำมาซื้อเมล็ดพืช เพื่อเพาะปลูก
ทรงผลนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในครอบครัวของตนเอง ดังนี้
1. ปลูกผักสวนครัวลดค่าใช้จ่าย
2. นำน้ำที่ผ่านการใช้แล้วในครัวเรือนมารดพืชผักสวนครัว
3. นำพืชผักสวนครัวที่เพาะปลูกได้มาบริโภค แบ่งปันเพื่อนบ้าน บางส่วนนำไปขายที่ตลาด ส่วนที่เหลือนำไปเลี้ยงหมู
4. นำเงินจากการขายพืชผักสวนครัวและหมูไปซื้อสินค้าและบริการที่สมาชิกในครัวเรือนต้องการและมีความจำเป็นในการอุปโภคบริโภค
5. เก็บออมเงินส่วนที่เหลือจากการบริโภคไว้ใช้จ่ายในอนาคต เช่น ค่ารักษาพยาบาล
6. นำเงินส่วนหนึ่งมาใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยและนำมาซื้อเมล็ดพืช เพื่อเพาะปลูก
ตัวอย่างอีกแนวหนึ่งของการประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง คือ ทำมาหากินก่อนมาค้าขายดังนี้
1. การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสานเพื่อให้เกษตรกรพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง
2. การปลูกพืชผักสวนครัวลดค่าใช้จ่าย
3. การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้เป็นปัจจัยการผลิต (ปุ๋ย) เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบำรุงดิน
4. การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
5. การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน
6. การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7. การเลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม
17
8. การเลี้ยงไก่พื้นเมือง และไก่ไข่ ประมาณ 10 – 15 ตัวต่อครัวเรือนเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน โดยใช้เศษอาหาร รำ และปลายข้าวจากผลผลิตการทำนา การเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่ เป็นต้น
9. การทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
18
กิจกรรมที่ 2
แบ่งกลุ่มผู้เรียนตามความสนใจ กลุ่มละ 5 คน แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ในแต่ละกลุ่มระดมความคิด ในประเด็น “การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต” แล้วเลือกนำเสนอเพียงหัวข้อเดียวว่า กลุ่มของตนสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไร เช่น การประหยัดค่าใช้จ่าย การพึ่งตนเอง ความมีเหตุผล และการดำรงชีวิตตามอัตภาพ เป็นต้น
2. ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเสนอแนวทางการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ใน ชีวิตประจำวันหน้าชั้นเรียน กลุ่มละ 3 – 5 นาที โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนร่วมประเมิน แนวทางการเผยแพร่ฯ ว่า เหมาะสมหรือควรแก้ไขอย่างไร เช่น การเผยแพร่โดยใช้ป้ายโปสเตอร์ แผ่นพับ และการประชาสัมพันธ์ทาง Internet เป็นต้น
3. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มนำแนวทางการเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต ไปเผยแพร่ในสถานศึกษาและชุมชนใกล้สถานศึกษา
4. ศึกษาค้นคว้าเรื่อง “เกษตรทฤษฎีใหม่” แล้วจัดทำแบบจำลอง “เกษตรทฤษฎีใหม่” กลุ่มละ 1 ชิ้น
กิจกรรมที่ 3
แบ่ง กลุ่มผู้เรียนตามความสนใจ ห้องละ 4 – 5 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มเขียนบทความ เรื่อง “การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” แล้วดำเนินการเผยแพร่ในสถานศึกษาและชุมชน โดย
1. กลุ่มที่ 1 ทำแผ่นพับแจกในสถานศึกษาและชุมชน
2. กลุ่มที่ 2 ทำโปสเตอร์ติดในสถานศึกษา หรือในศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนใกล้เคียง
3. กลุ่มที่ 3 เขียนบทความแล้วนำมาอ่านหน้าชั้นเรียน แล้วคัดเลือกบทความดีเด่นอ่านในห้องเรียน หรือออกรายการของวิทยุหรือหอกระจายข่าวของชุมชน
กิจกรรมที่ 4
ให้ ผู้เรียนแต่ละคนออกแบบแผนผังการจัดการแบ่งที่ดินตามทฤษฎีใหม่ พร้อมทั้งสรุปหลักการและขั้นตอนของทฤษฎีใหม่พอสังเขปลงในกระดาษขาวขนาด F4 แล้วนำไปติดที่ป้ายนิเทศหน้าสถานศึกษา ให้ผู้สนใจในสถานศึกษาและในชุมชนได้เรียนรู้ และผู้สอนเลือกแผนที่สวยงามลงในวารสารของสถานศึกษาเพื่อเผยแพร่ในวงกว้างต่อ ไป
19
บทที่ 3
การวางแผนประกอบอาชีพแบบพอเพียง
สาระสำคัญ
ผู้ เรียนมักเข้าใจว่าการประกอบอาชีพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแค่เรื่องของเกษตรกร แต่จริงแล้ว ผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ ตลอดจนข้าราชการก็สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยประชาชนจะต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว จึงจะถือว่าประพฤติตนโดยการวางแผนการประกอบอาชีพ อยู่ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
ผลการเรียนที่คาดหวัง
1. ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากการเรียนไปใช้ในการวางแผน การประกอบอาชีพ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากการเรียนโดยสามารถจัดทำโครงงานตามแผนงานที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องที่ 2 การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องที่ 3 ทฤษฎีใหม่
20
เรื่องที่ 1 กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
...การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่จะหาความรู้
และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้ เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเอง
มีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้า ที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง
และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง...
ต่อ มาได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมมาโดยตลอด เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความแข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 มีความพอเพียง เลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่าย
ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ การศึกษา การพัฒนาสังคม
ขั้น ที่ 3 สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และภาคราชการในด้านเงินทุน การตลาด การผลิต การจัดการและข่าวสารข้อมูล
สำหรับ ในภาคอุตสาหกรรม ก็สามารถนำ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ก็ต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตสินค้า เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน จึงจะทำให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่างเช่นปัจจุบัน ดังนั้น เราจะต้องช่วยเหลือประเทศให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลด ปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่เรานำมาใช้ในการผลิตให้เป็นลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอกประเทศทำให้ประชาชนหลงลืม และมัวเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทำให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ำ
...พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัว ทำลายผู้อื่น
พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่
พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา
และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้น ให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น...
“คน ส่วนมากมักเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่แท้ที่จริง ผู้ประกอบอาชีพอื่น เช่น พ่อค้า ข้าราชการ และพนักงานบริษัทต่าง ๆ สามารถนำแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ได้แต่ว่าพอเพียงนี้มี ความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือ คำว่าพอ ก็พอเพียงนี้ก็พอแค่นั้นเอง คนเราถ้าพอใจในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียนผู้อื่นน้อย
21
ถ้าประเทศใดมีความคิดอันนี้ มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ซื่อตรงไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข
พอ เพียงนี้ อาจจะมี มีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติงานก็พอเพียง...”
“...ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่าความพอประมาณและความมีเหตุผล.”
ได้ มีพระราชกระแสเพิ่มเติมระหว่างเข้าเฝ้าถวายงานมาอีกว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะอยู่มั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป
“...ความ หมายของเศรษฐกิจพอเพียง และทำได้เศษหนึ่งส่วนสี่เท่านั้นจะพอนั้น ไม่ได้แปลว่า เศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ”
จากพระราชดำรัส : เศรษฐกิจพอเพียง มิได้จำกัดเฉพาะของเกษตรกรหรือชาวไร่ชาวนาเพียงเท่านั้น แต่เป็นเศรษฐกิจของทุกคนทุกอาชีพ ทั้งที่อยู่ในเมืองและอยู่ในชนบท เช่น ผู้ที่ได้เป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและบริษัทในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าจะต้องขยายกิจการเพราะความเจริญเติบโตจากเนื้อของงาน โดยอาศัยการขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือหากจะกู้ยืมก็กระทำตามความเหมาะสม ไม่ใช่กู้มาลงทุนจนเกินตัวจนไม่เหลือที่มั่นให้ยืนอยู่ได้ เมื่อภาวะของเงินผันผวน ประชาชนก็จะต้องไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินตัว สำหรับเกษตรกรนั้นก็ทำไร่ทำนา ปลูกพืชแบบผสมผสานในที่แห้งแล้งตามแนว “ทฤษฎีใหม่” ได้สำเร็จ หากไม่มีความพอประมาณในใจตน นึกแต่จะซื้อรถปิคอัพคันใหม่ หรือเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อยู่ร่ำไป ก็ย่อมไม่ถือว่าประพฤติตนอยู่ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
เศรษฐกิจ พอเพียง จึงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทานให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่ สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี
ความสุข ความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น หลักการพึ่งตนเอง หากขยายความออกไปอาจจะสามารถยึดหลักสำคัญของความพอดีได้ 5 ประการคือ
1. ความพอดีด้านจิตใจ : ต้องเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประนีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
2. ความพอดีด้านสังคม : ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง
3. ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป
22
4. ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง
5. ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน
เรื่องที่ 2 การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
1. ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดละความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิตอย่างจริงจัง ดังพระราชดำรัสว่า “ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อ ต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง” ปฏิบัติได้ด้วยวิธีจดบันทึกหรือทำบัญชีครัวเรือน
2. ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพก็ตาม ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบและการหาเลี้ยงชีพของตน เป็นหลักสำคัญ”
3. ละเลิกการแก่งแย่งประโยชน์และแข่งขันกันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้ กันอย่างรุนแรงดังอดีต ซึ่งมีพระราชดำรัสเรื่องนี้ว่า “ความสุขความเจริญอันแท้จริงนั้น หมายถึง ความสุข ความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนา และการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น”
4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางในชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ยากครั้งนี้ โดยต้องขวนขวายใฝ่หาความรู้ให้เกิดมีรายได้เพิ่มพูนขึ้นจนถึงขั้นพอเพียง เป็นเป้าหมายสำคัญ พระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ให้ความชัดเจนว่า “การที่ต้องการให้ทุกคนพยายามที่ จะหาความรู้ และสร้างตนเองให้มั่นคงนี้เพื่อตนเอง เพื่อที่จะให้ตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ก้าวหน้าที่มีความสุข พอมีพอกินเป็นขั้นหนึ่ง และขั้นต่อไป ก็คือให้มีเกียรติว่ายืนได้ด้วยตัวเอง”
5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดีลดละสิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ทั้งนี้ด้วยสังคมไทยที่ล่มสลายลงในครั้งนี้ เพราะยังมีบุคคลจำนวนมิใช่น้อยที่ดำเนินการโดยปราศจากละอายต่อแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราโชวาทว่า “พยายามไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวทำลายผู้อื่น พยายามลด พยายามละความชั่วที่ตัวเองมีอยู่ พยายามก่อความดีให้แก่ตัวอยู่เสมอ พยายามรักษา และเพิ่มพูนความดีที่มีอยู่นั้นให้งอกงามสมบูรณ์ขึ้น”
ทรงย้ำเน้นว่าคำสำคัญที่สุด คือ คำว่า “พอ” ต้องสร้างความพอที่สมเหตุสมผลให้กับตัวเองให้ได้และเราก็จะพบกับความสุข
23
เรื่องที่ 3 ทฤษฎีใหม่
ปัญหา หลักของเกษตรกรในอดีต จนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อยและส่วน มากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหาย อันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็มีขนาดเล็ก หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
ด้วย เหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าวให้สามารถผ่านพ้น ช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำ ได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
พระ ราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” เป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทฤษฎีใหม่ ที่มาแห่งพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” ในทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศนั้นได้ทรงตามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อ การปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
ข้าวเป็นพืชที่ แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น หากเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค หากแต่ละครัวเรือนมีสระน้ำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า แรงดลพระราชหฤทัยในเรื่องนี้เกิดจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระ ราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน บริเวณพื้นที่บ้านกุตตอแก่น ตำบลกุตสิมคุ้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำรัสแก่บรรดาคณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2535 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ว่า
“..ถามชาวบ้าน ที่อยู่นั่นว่าเป็นอย่างไรบ้างปีนี้ เขาบอกว่าเก็บข้าวได้แล้วข้าวก็อยู่ตรงนั้นกองไว้ เราก็ไปดูข้าว ข้าวนั้นมีรวงจริงแต่ไม่มีเมล็ดหรือรวงหนึ่งมีซักสองสามเมล็ด ก็หมายความว่า 1 ไร่ คงได้ข้าวประมาณซักถังเดียวหรือไม่ถึงถังต่อไร่ ถามเขาว่าทำไมเป็นอย่างนี้ เขาบอกว่าเพราะไม่มีฝนเขาปลูกกล้าไว้แล้วเมื่อขึ้นมาก็ปักดำ ปักดำไม่ได้เพราะว่าไม่มีน้ำ ก็ปักในทรายทำรูในทรายแล้วก็ปักลงไป เมื่อปักแล้วตอนกลางวันก็เฉามันงอลงไป แต่ตอนกลางคืนก็ตั้งตัวตรงขึ้นมาเพราะมีน้ำค้าง และในที่สุด ก็ได้รวงแต่ไม่มีข้าว เท่าไร อันนี้เป็นบทเรียนที่ดี...แสดงให้เห็นว่าข้าวนี้เป็นพืชแข็งแกร่งขอให้ได้มี น้ำค้างก็พอ แม้จะเป็นข้าวธรรมดา ไม่ใช่ข้าวไร่ ถ้าหากว่า เราช่วยเขาเล็กน้อยก็สามารถที่จะได้ข้าวมากขึ้นหน่อยพอที่จะกิน ฉะนั้น
24
โครงการ ที่จะทำมิใช่ต้องทำโครงการใหญ่โตมากจะได้ผล ทำเล็ก ๆ ก็ได้ จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าในที่เช่นนั้นฝนตกดีพอสมควร แต่ลงมาไม่ถูกระยะเวลา...ฝนก็ทิ้งช่วง..”
จากพระราชดำรัสข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการที่ทรงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว ทรงวิเคราะห์เป็นแนวคิดทฤษฎีว่า
“...วิธี การแก้ไขก็คือต้องเก็บน้ำฝนที่ตกลงมา ก็เกิดความคิดว่า อยากทดลองดูสัก 10 ไร่ ในที่อย่างนั้น 3 ไร่ จะเป็นบ่อน้ำ คือ เก็บน้ำฝนแล้ว ถ้าจะต้องบุด้วยพลาสติกก็บุด้วยพลาสติกทดลองดูแล้ว อีก 6 ทำไร่ทำเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือก็เป็นบริการหมายถึงทางเดินหรือกระต๊อบหรืออะไรก็ได้แล้วแต่ หมายความว่า น้ำ 30% ที่ทำนา 60% ก็เชื่อว่า ถ้าเก็บน้ำไว้ได้จากเดิมที่ เก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณ 1 – 2 ถัง ถ้ามีน้ำเล็กน้อยอย่างนั้นก็ควรจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณ 10 – 20 ถังหรือมากกว่า”
ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำรัสให้ทำการทดลอง “ทฤษฎีใหม่” เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้น ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี แนวทฤษฎีใหม่กำหนดขึ้นดังนี้
ให้แบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ดินประมาณ 10 ไร่ ต่อครอบครัวแบ่งออกเป็นสัดส่วน คือ
ส่วน แรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3 ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ให้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถนำน้ำนี้ไปใช้ได้ตลอดปี ทั้งยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีกทาง หนึ่งด้วย ดังพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการ พัฒนาพื้นที่วัดชัยมงคลพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 ความตอนหนึ่งว่า “..การเลี้ยงปลาเป็นรายได้เสริม ถ้าเลี้ยงปลาไม่กี่เดือนก็มีรายได้..”
ส่วนที่สอง : ร้อยละ 60 เป็นเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 6 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ทำนาข้าวประมาณ 3 ไร่ และทำเป็นสวนผลไม้ต่าง ๆ ร้อยละ 30 คือ 3 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณ โดยใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่า ในพื้นที่ทำการเกษตรนี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้งประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ถ้าหากแบ่งแต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 3 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง
ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่เหลือมีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 1 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทางคันคูดินหรือคูคลอง ตลอดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ รวมพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 10 ไร่ ตามสัดส่วน 30 – 30 – 30 – 10 ตามทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ วิธีนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกร ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีพื้นที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็ก ๆ ประมาณ 10 ไร่ (ซึ่งเป็นอัตราถือครองเนื้อที่การเกษตรโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย) มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ (Self Sufficiency) ในระดับชีวิตที่
25
ประหยัดก่อนโดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของ ความสามัคคีกันในท้องถิ่น กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้เพียงพอตลอดทั้งปี โดยยึดหลักว่าการทำนา 3 ไร่ ของครอบครัวหนึ่งนั้นจะมีข้าวพอกินตลอดปีซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้
แผนภาพแสดงการจัดสัดส่วนพื้นที่ 10 ไร่ ดำเนินชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่
ทฤษฎี ใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริได้นั้น ทรงคำนึงถึงการระเหยของน้ำในสระหรืออ่างเก็บน้ำลึก 4 เมตร ของเกษตรกรด้วยว่าในแต่ละวันที่ไม่มี ฝนตกคาดว่าน้ำระเหยวันละ 1 เซนติเมตร ดังนั้น เมื่อเฉลี่ยว่าฝนไม่ตกปีละ 300 วันนั้นระดับน้ำในสระลดลง 3 เมตร จึงควรมีการเติมน้ำให้เพียงพอเนื่องจากน้ำเหลือก้นสระเพียง 1 เมตรเท่านั้น
ดัง นั้น การมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อคอยเติมน้ำในสระเล็ก จึงเปรียบเสมือนมีแท้งก์น้ำใหญ่ ๆ ที่มีน้ำสำรองที่คอยเติมน้ำอ่างเล็กให้เต็มอยู่เสมอ จะทำให้แนวทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้นสระน้ำที่ราษฎรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่นี้เมื่อ เกิดช่วงขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้ง ราษฎรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้และหากน้ำในสระไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจาก อ่างห้วยหินขาว ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลง ซึ่งจะช่วยให้มีน้ำใช้ตลอดปี ในกรณีราษฎรใช้น้ำกันมากอ่างห้วยหินขาวก็อาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักสมบูรณ์แล้วก็ใช้วิธีการสูบน้ำจากป่าสักมาพัก ในหนองน้ำใดหนองน้ำหนึ่ง แล้วสูบต่อลงมาในอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มาพอตลอดปี ทรงเชื่อมั่นในทฤษฎีนี้มาก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
“...ให้ค่อย ๆ ทำเพิ่มเติม ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น แล้วทีหลังในเขตนอกเหนือจาก 3,000 ไร่ เมื่อมีเห็นว่า ทำได้ก็เชื่อแล้วนำไปทำบ้างแต่ต้องไม่ทำเร็วนัก บริเวณนี้ก็จะสนับสนุนได้ 3,000 ไร่ ช่วงเขาบอกได้ 700 ไร่ แต่ทฤษฎีของเราได้ 3,000 ไร่...”
ทฤษฎีใหม่เป็นแนวพระราชดำริของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัย/เลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 3 : 3 : 3 : 1
นาข้าว 30 30 % 3 ไร่
ที่อยู่อาศัย 10 % 1 ไร่
พืชไร่พืชสวน 30 % 3 ไร่
สระน้ำ 30 % 3 ไร่
26
เป็นหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้
1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
2. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดปี
3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเองและเพื่อเป็นรายได้
ขั้น ที่ 1 ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ 1 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉดฯ ได้ด้วย) พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ 30% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ 30% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ 10% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
ทฤษฎี ใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของ ตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น “พออยู่พอกิน” ไปสู่ขั้น “พอมีอันจะกิน” เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ (มูลนิธิชัยพัฒนา, 2542)
ขั้นที่ 2 ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน
(1) การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ เพื่อการเพาะปลูก
(2) การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วมกัน การจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย
(3) ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง
27
(4) สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืมเพื่อประโยชน์ใน กิจกรรมต่าง ๆ
(5) การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชนของชุมชนเอง
(6) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ ยึดเหนี่ยว
กิจกรรม ทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิกในชุมชนนั้นเป็นสำคัญ
ขั้น ที่ 3 ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุรกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ
(1) เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
(2) ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง)
(3) เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ซื้อในราคาขายส่ง)
(4) ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)
ใน ปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต จำนวน 25 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการดำเนินงานให้มีการนำเอาทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น
แผนภาพจำลองการจัดสัดส่วนพื้นที่ตามแนวทฤษฎีใหม่
28
ระบบการจัดการพื้นที่
1. สระน้ำ ขนาดประมาณ 3 ไร่ ไว้เก็บกักน้ำและเลี้ยงปลาไว้บริโภค
2. นาข้าว ประมาณ 3 ไร่ ปลูกข้าวไว้บริโภค และปลูกพืชผักหมุนเวียนตามฤดูกาล
3. ไม้ผลที่เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ ประมาณ 3 ไร่ ควรเป็นแบบผสมผสาน และพึ่งพาอาศัยกันเป็นชั้น ๆ เช่น
- ไม้ผลหรือไม้ใช้สอยขนาดใหญ่ ต้นสูง เช่น สะตอ, มังคุด ฯลฯ
- ไม้ผลพุ่มขนาดกลาง เช่น มะม่วง ลำไย ขนุน ชมพู่ ส้มโอ ฯลฯ
- ไม้ผลพุ่มเตี้ย เช่น มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มจี๊ด ฯลฯ
- ไม้ผลและพืชผักขนาดเล็ก เช่น มะเขือ พริก กระเพรา ผักหวาน ฯลฯ
- ผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ และพืชผัก ฯลฯ
- ผักประเภทเถา เกาะต้นไม้ใหญ่ เช่น ตำลึง, ฟัก, แฟง, แตงร้าง, บวบ, ถั่วชนิดต่างๆ, พริกไทย ฯลฯ
- ผักเลื้อยกินหัว เช่น มัน ขิง ข่า
4. ที่อยู่อาศัยตามสภาพ คอกปศุสัตว์ และพืชผักสวนครัวที่ต้องการแสงแดด และแปลงปุ๋ยหมัก (หากไม่ใช่มุสลิม แนะนำให้เลี้ยงหมูหลุม) ใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ จัดระบบภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมที่ดี
5. แนวรั้วควรเป็นพืชสวนครัวรั้วกินได้ เช่น หากมีเสารั้วควรปลูกแก้วมังกร ระหว่างเสารั้ว ควรเป็นผักหวาน, ชะอม, ต้นแค, มะละกอ ฯลฯ
6. รอบ ๆ ขอบสระน้ำ ปลูกพืชผักได้ตามสภาพ เช่น กล้วย, อ้อย, มะรุม, แค ส่วนของสระด้านในควรปลูกหญ้าแฝกกันการพังทลายของดินลงสระ
หมายเหตุ การออกแบบวางผัง ควรคำนึงถึงสภาพพื้นที่ของแต่ละรายตามสภาพจริง
กิจกรรมที่ 5
1. ให้นักศึกษารวมกลุ่ม 3 – 5 คนหาข้อมูลบุคคลที่ประสบความสำเร็จในอาชีพที่ยึดหลักความพอเพียง โดยบุคคลนี้อาจอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียงก็ได้ จากนั้นให้นำข้อมูลดังกล่าวมารายงานแลกเปลี่ยนกันในชั้นเรียน
2. ให้ผู้เรียนแต่ละคนพิจารณาความพร้อมในการเลือกอาชีพของตนตามหลักเศรษฐกิจพอ เพียงพร้อมเขียนออกมาเป็นรายงานนำเสนอหน้าชั้นเรียน จากนั้นให้เพื่อนนักศึกษาร่วมวิจารณ์ และเก็บบันทึกนี้ไว้ในแฟ้มสะสมผลงานของนักศึกษาเอง
29
บทที่ 4
เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
สาระสำคัญ
ผู้ เรียนศึกษาแนวทางในการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของชุมชน ในการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยร่วมกันค้นหาภูมิปัญญา ด้านการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน หรือพื้นที่ใกล้เคียง นำมาศึกษาวิเคราะห์ รวบรวม และสรุปเผยแพร่
ผลการเรียนที่คาดหวัง
ผู้ เรียนสามารถสร้างเครือข่ายเรียนรู้ด้านประชาสังคมและชุมชนตลอดจนเครือข่าย ธุรกิจเอกชนให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
30
เรื่องที่ 1 เครือข่ายดำเนินชีวิตแบบพอเพียง
“...ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น
เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน
ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา
เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอควรแล้ว
จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นสูงขึ้นตามลำดับต่อไป
...การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญให้ค่อยเป็นไปตามลำดับ
ด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น
ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลว
และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์”
พระ บรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 19 กรกฎาคม 2517 จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่า พระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันภายใต้ ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน
วัตถุประสงค์ ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของ เศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิ วัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความ สมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่างๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย
31
การขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะเครือข่ายและระดมพลังจากทุกภาคส่วน แบ่งเป็น 2 เครือข่ายสนับสนุน ตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่
1. เครือข่ายด้านประชาสังคมและชุมชน
2. เครือข่ายธุรกิจเอกชน
นอกจากนี้แล้วยังมีเครือข่ายสนับสนุนตามภารกิจ ได้แก่
1. เครือข่ายวิชาการ
2. เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้
3. เครือข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
การ ดำเนินการตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น นอกเหนือจากที่ทรงทดลองและปฏิบัติจริงในสวนจิตรลดาฯ และโครงการพระราชดำริต่าง ๆ แล้ว ได้มีผู้สนใจนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตทั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว มากมาย ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องเข้าไปศึกษาหาว่า ในแต่ละพื้นที่ได้มีผู้นำเอาปรัชญานี้ไปใช้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นำไปใช้แล้วประสบความสำเร็จ
กิจกรรมที่ 6
1. ให้นักศึกษารวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 5 – 8 คน
2. ให้ไปค้นหาภูมิปัญญาด้านเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน หรือพื้นที่ใกล้เคียง
3. บันทึกการเรียนรู้ การดำเนินงานของภูมิปัญญา
4. สรุปมานำเสนอในการพบกลุ่ม และส่งเป็นเอกสารรายงาน
32
คณะผู้จัดทำ
ที่ปรึกษา
1. นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน.
2. ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการ กศน.
3. นายวัชรินทร์ จำปี รองเลขาธิการ กศน.
4. ดร.ทองอยู่ แก้วไทรฮะ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาหลักสูตร กศน.
5. นางรักขณา ตัณฑวุฑโฒ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
ผู้เขียนและเรียบเรียง
1. นายศรายุทธ์ บูรณ์เจริญ ผอ.กศน.อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
2. นายจำนง หนูนิล กศน. อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
3. นางพัฒน์สุดา สอนซื่อ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
ผู้บรรณาธิการ และพัฒนาปรับปรุง
1. นางพัฒน์สุดา สอนซื่อ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
2. นายอุชุ เชื้อบ่อคา กศน. อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
3. นางสาวพัชรา ศิริพงษาโรจน์ สำนักงาน กศน. จังหวัดกระบี่
4. นายวิทยา บูรณะหิรัญ สำนักงาน กศน. จังหวัดพังงา
5. นายจำนง หนูนิล กศน. อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คณะทำงาน
1. นายสุรพงษ์ มั่นมะโน กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
2. นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
3. นางสาววรรณพร ปัทมานนท์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
4. นางสาวศริญญา กุลประดิษฐ์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
5. นางสาวเพชรินทร์ เหลืองจิตวัฒนา กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
ผู้พิมพ์ต้นฉบับ
นางสาวเพชรินทร์ เหลืองจิตวัฒนา กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน
ผู้ออกแบบปก
นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป์ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น